SCG

บริษัทมีกระบวนการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำของบริษัทโดยคำนึงถึงการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานตามแนวคิด Green Energy โดยมีความรับผิดชอบต่อสังคมและการร่วมรับผลประโยชน์ของชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการผลิต โดยเริ่มตั้งการวิจัยและพัฒนาโครงการจนถึงการผลิตสินค้าสู่ลูกค้าและผู้บริโภค

รายได้รวม
ล้านบาท
จำนวนผู้ส่งมอบ (Supplier) /ผู้รับเหมาช่วง/ ผู้รับเหมา/ ผู้ให้บริการภายนอก
ที่ประกาศเจตนารมย์ เข้าร่วมนโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น
ทั้งหมด
รักษาการกํากับดูแลกิจการ ให้อยู่ในเกณฑ์ “ดีเลิศ”
ได้รับคะแนนการประเมิน ในระดับ
ปี 2564

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อความยั่งยืน

นโยบายการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานด้วยการกำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อคู่ค้าที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของสินค้า/บริการและบริหารความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนร่วมกัน ซึ่งบริษัทเชื่อมั่นว่าจะสามารถทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอดจนสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจทั้งของบริษัทและคู่ค้าได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน

การปฏิบัติที่ดีต่อคู่ค้า

นโยบายและแนวปฏิบัติจรรยาบรรณธุรกิจ ของคู่ค้ากลุ่มราชพัฒนา

  1. มีดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอย่างโปร่งใส ปฏิบัติตามระเบียบการคัดเลือกคู่ค้าอย่างเคร่งครัดรวมทั้งปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของการแข่งขันที่เป็นธรรมเสมอภาค และเคารพซึ่งกันและกัน ถูกต้องชัดเจน ครบถ้วน ตรวจสอบได้ ในห่วงโซ่อุปทานที่มีการดำเนินธุรกิจตามกฎหมาย ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  2. รักษาความลับหรือข้อมูลทางสารสนเทศของคู่ค้า ไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ตนเอง หรือผู้เกี่ยวข้องโดยมิชอบ
  3. สร้างสัมพันธภาพและความเข้าใจที่ดีต่อกัน แลกเปลี่ยนความรู้ ร่วมกันพัฒนาและเพิ่มคุณค่าให้แก่สินค้าและบริการ เพื่อการเจริญเติบโตร่วมกัน
  4. ปฏิบัติตามข้อตกลงทางการค้าและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ให้รีบเจรจากับคู่ค้าเป็นการล่วงหน้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย
  5. จัดซื้อจัดจ้างโดยคำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการอันอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและอนามัยของพนักงาน ชุมชนสังคม และสิ่งแวดล้อม
  6. ไม่แสวงหาประโยชน์ ไม่เรียก รับ หรือยินยอมที่จะรับ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดจากการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งอยู่นอกเหนือข้อตกลงทางการค้า

การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว

บริษัทได้จัดทำคู่มือการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวเพื่อการดำเนินการในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด มุ่งเน้นการคัดเลือกสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยได้พัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีต่อคู่ค้าเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (ESG) อีกทั้งยังเพิ่มและพัฒนาศักยภาพของคู่ค้า โดยเฉพาะการรองรับกฎหมายภาครัฐใหม่ๆ ที่อาจขาดความเข้าใจจนส่งผลให้การจัดซื้อจัดจ้างเกิดความล่าช้า แนวปฏิบัติที่ดีต่อคู่ค้าจึงมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้ธุรกิจกลุ่มราชพัฒนา ราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้

โดยในปี 2565 บริษัทได้พัฒนาปรับปรุงและดำเนินการตามมาตรฐาน ระเบียบ และ กระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่

  • ดำเนินการตามคู่มือจรรยาบรรณคู่ค้ากลุ่มสหโคน (Sahacogen Supplier Code of Conduct) ซึ่งจะช่วยผลักดันให้คู่ค้าของกลุ่มราชพัฒนา มีความตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้คู่ค้าพัฒนากระบวนการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม การไม่ใช้แรงงานบังคับ และคำนึงถึงสิทธิเด็ก ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การบริหารจัดการสิ่งแสดล้อมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ดำเนินการตามคู่มือการตรวจประเมินคู่ค้าด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างความตระหนักให้คู่ค้าดำเนินการตาม แนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืน และลดความเสี่ยงในด้าน ESG ที่อาจเกิดขึ้นตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน
  • ดำเนินการตามกระบวนการประเมินคัดเลือกคู่ค้า โดยใช้แบบประเมินผู้ขาย/ผู้รับจ้างรายใหม่ ให้น้ำหนักด้านคุณภาพ ราคา มาใช้คัดเลือกคู่ค้า เพื่อให้ได้คู่ค้าที่มีคุณภาพด้วยราคาที่เหมาะสม ตามขั้นตอน การจัดซื้อที่โปร่งใส ตรวจสอบได้

การคัดเลือกคู่ค้า

บริษัท มีเกณฑ์ในการคัดเลือกคู่ค้า โดยพิจารณาจากความสามารถในการผลิต ที่ตอบสนองความต้องการ ผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ความสามารถด้านคุณภาพของคู่ค้า กำลังการผลิต ระบบมาตรฐานต่างๆ ความพร้อมของการบริการ การขนส่ง ความปลอดภัยอาชีวอนามัย รวมถึงการดำเนินธุรกิจของคู่ค้า ที่ตอบสนอง สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบสอบถามในการประเมินเบื้องต้น และทำการตรวจติดตามเพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าที่คัดเลือกมีศักยภาพเพียงพอ และเชื่อถือได้

การบริหารจัดการกลุ่มคู่ค้ารายสำคัญ

บริษัทได้มีการบริหารจัดการกลุ่มคู่ค้าสำคัญโดยใช้เกณฑ์การจัดซื้อที่มีมูลค่าสูง และ/หรือเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและ/หรือเป็นคู่ค้าที่มีการจำหน่ายสินค้าและบริการจำนวนน้อยราย การพิจารณาความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยงของคู่ค้า รวมถึงให้มีการสื่อสารและการเยี่ยมชมกิจการของคู่ค้าตามโอกาสที่เหมาะสมเพื่อกำหนดกลยุทธ์แนวทางและติดตามการพัฒนาคุณภาพและการพัฒนาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ กับคู่ค้าให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

การประเมินความเสี่ยงคู่ค้า

การวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดซื้อ โดยพิจารณาจากคู้ค้าที่มีมูลค่าการจัดซื้อสูง หรือคู่ค้าที่มีปัจจัยในการผลิตสำคัญซึ่งอาจส่งผลถึงการส่งมอบให้กับลูกค้า บริษัทฯจึงต้องประเมินความเสี่ยงว่าจะมีสถานการณ์ใด ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ และจัดทำแผนในการรองรับ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิดผลกระทบต่อลูกค้าและธุรกิจได้ การทำแผนบริหารความเสี่ยงโดยคู่ค้า โดยคู่ค้าประเมินความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจของตนเอง ในหัวข้อที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น และวางแนวทางในการตอบโต้เพื่อไม่ให้เกิดกระทบในการดำเนินธุรกิจระหว่างกัน

การตรวจประเมินคู่ค้า

กำหนดมาตรการการบริหารจัดการคู่ค้ารวมถึงการตรวจประเมิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ค้าปฏิบัติตามข้อกำหนด ตามมาตรฐานสากล รวมถึงความสามารถในการผลิตของ ผู้จัดจำหน่าย เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรักษาคุณภาพ ของสินค้าและบริการ เช่น การตรวจประเมินคู่ค้าด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดีใน การดำเนินธุรกิจ (ESG On-site Audit) การตรวจเยี่ยมผู้ค้า (Key Supplier Site Visit) เพื่อให้คู่ค้าปฏิบัติสอดคล้องกับ จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

ผลการประเมินคู่ค้า 2565
ประเด็นการประเมิน จำนวนคู่ค้าที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน (จากจำนวนคู่ค้าที่ประเมินทั้งหมด 145 ราย)
คู่ค้ารายเดิม คู่ค้ารายใหม่ รวม ร้อยละ
1. ด้านความซื่อสัตย์/ความโปร่งใส/ความรับผิดชอบต่องาน
  • ไม่มีประวัติการคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ
137 8 145 100%
  • ไม่มีประวัติการละทิ้งงาน
137 8 145 100%
2. ด้ารการจัดการและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
  • ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม หรือปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001/EIA)
1 1 2 100%
  • การปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมและกระบวนการในการจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
1 1 2 100%
3. ด้านแรงงานและความรับผิดชอบต่อสังคม
  • ไม่มีการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย
137 8 145 100%
  • การเคารพสิทธิมนุษยชนของลูกจ้างแรงงาน ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
137 8 145 100%
  • การดำเนินธุรกิจที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนรอบข้าง
137 8 145 100%
4. ด้านผลประโยชน์ทับซ้อน
  • ผู้บริหาร/กรรมการไม่มีตำแหน่ง ในบริษัทที่เสนอราคาแข่งขัน
0 0 0 0

แนวทางการพัฒนาคู่ค้า

  • การให้ข้อมูลลูกค้าในด้านต่างๆแก่คู่ค้า เช่น ความคาดหวังในผลิตภัณฑ์ ระบบมาตรฐาน เกณฑ์คุณภาพ
  • การให้ความรู้ในกระบวนการผลิตและเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน
  • การพัฒนาคู่ค้าเพื่อมุ่งสู่ (Green Procurement) ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและผู้บริโภคในอนาคต
  • การพัฒนาคู่ค้าในการดำเนินงานตามจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจ
  • การพัฒนาให้คู่ค้ารองมีโอกาสเติบโตกลายมาเป็นคู่ค้ารายสำคัญมากขึ้น
การร่วมมือด้านจรรยาบรรณและจริยธรรมทางธุรกิจ

บริษัทมีความมุ่งมั่นต่อจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจร่วมกันกับคู่ค้า โดยถือปฏิบัติ ตามมาตรฐานแรงงานไทย การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งนี้ได้ขยายเครือข่ายพันธมิตรเพื่อร่วมลงนาม ในหนังสือแสดงความมุ่งมั่นต่อจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนดังนี้

จำนวนผู้ส่งมอบ (Supplier) /ผู้รับเหมาช่วง/ ผู้รับเหมา/ ผู้ให้บริการภายนอก ที่ประกาศเจตนารมย์ เข้าร่วม นโยบายต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น
จำนวนผู้ส่งมอบ (Supplier) /ผู้รับเหมาช่วง/ ผู้รับเหมา/ ผู้ให้บริการภายนอกที่เข้าร่วม นโยบายคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและอนุรักษ์พลังงาน
ปี 2565
ไม่มีข้อร้องเรียน และไม่มีข้อพิพาทกับคู่ค้า

การสื่อสารและการมีส่วนร่วมของลูกค้า

ปี 2565

วิธี/รูปแบบ

  • ประชุม

ลูกค้า/ผู้มีส่วนได้เสีย

  • ระดับบริหารของ กฟผ.
  • ระดับบริหารของลูกค้าอุตสาหกรรม
  • ระดับปฏิบัติการของ กฟผ.
  • ระดับปฏิบัติการของลูกค้าอุตสาหกรรม

ความถี่

  • ปีละ 1-2 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับประเด็นที่เกิดขึ้นในแต่ะละปี)
  • ทุก 3 เดือน หรือตาม กฟผ. นัดหมายเพื่อประชุม

ประเด็นสำคัญ/เป้าหมาย

  • ปรึกษาหารือประเด็นในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า แนวทางการดำเนินงานร่วมกันและ สร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า
  • ปรึกษาหารือประเด็นด้านสัญญา แนวทางการดำเนินงานร่วมกันและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

วิธี/รูปแบบ

  • ประชุม
  • กิจกรรมสานสัมพันธ์

ลูกค้า/ผู้มีส่วนได้เสีย

  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • ลูกค้าในสวนอุตสาหกรรม

ความถี่

  • ปีละ 3 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับประเด็นที่เกิดขึ้นในแต่ละปี)

ประเด็นสำคัญ/เป้าหมาย

  • ทบทวนข้อกำหนดผลิตภัณฑ์และสรุปผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา
  • ติดตามผลการปฏิบัติงาน และการดำเนินการแก้ไขปัญหา
  • กิจกรรมสานสัมพันธ์ลูกค้า เช่น การแข่งขันกีฬา กิจกรรมเยี่ยมชมศึกษาดูงาน เป็นต้น

วิธี/รูปแบบ

  • ประชุม
  • กิจกรรมสานสัมพันธ์

ลูกค้า/ผู้มีส่วนได้เสีย

  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ความถี่

  • ไตรมาสละ 1 ครั้ง

ประเด็นสำคัญ/เป้าหมาย

  • ทบทวนข้อกำหนดผลิตภัณฑ์และสรุปผลการดำเนินงานปีที่ผ่านมา
  • ติดตามผลการปฏิบัติงาน และการดำเนินการแก้ไขปัญหา
  • กิจกรรมสานสัมพันธ์ลูกค้า เช่น การแข่งขันกีฬา กิจกรรมเยี่ยมชมศึกษาดูงาน เป็นต้น

สำรวจความพึงพอใจลูกค้า

บริษัท ราชพัฒนา เอ็นเนอร์ยี จำกัด (มหาชน)
สำรวจความพึงพอใจลูกค้า ปี 2565
ผลสำรวจความพึงพอใจลูกค้า
ผลสำรวจความพึงพอใจลูกค้าไอน้ำ
ผลสำรวจความพึงพอใจลูกค้าไฟฟ้า
ผลสำรวจความพึงพอใจลูกค้าไฟฟ้า
บริษัท สหโคเจน กรีน จำกัด
สำรวจความพึงพอใจลูกค้า ปี 2565
ผลสำรวจความพึงพอใจลูกค้า
บริษัท สหกรีน ฟอเรสท์ จำกัด
สำรวจความพึงพอใจลูกค้า ปี 2565
ผลสำรวจความพึงพอใจลูกค้า
ลูกค้าสัมพันธ์
ดูรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกค้าสัมพันธ์
ดูเพิ่มเติม