SCG

บริษัทได้กำหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งมั่นรักษาและพัฒนาระบบการจัดการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐาน และมุ่งมั่นในการดำเนินการธุรกิจที่ควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงการบริหารจัดการลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก

ปริมาณน้ำ
ปริมาณน้ำที่ลดได้ในกระบวนการผลิต ปี 2566
ลบ.ม.ต่อปี
IREC ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก
tonCO2 eq
โครงการธนาคารขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมประจําปี 2566
ผลการดําเนินงานการคัดแยกขยะจากโครงการ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้รวม
22.03
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (tCO2e)
CDM รวมตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
tCO2e

การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

กลุ่มราชพัฒนา ได้กําหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งมั่นรักษาและพัฒนาระบบการจัดการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานและมุ่งมั่นในการดําเนินธุรกิจที่ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมกัน โดยกําหนดนโยบายคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และอนุรักษ์พลังงาน เพื่อมุ่งมั่นในการจัดหาพลังงานที่มีคุณภาพสูงและมั่นคง รวมทั้งรับผิดชอบในการปกป้องสิ่งแวดล้อม ป้องกันมลพิษ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การอนุรักษ์และการจัดการพลังงาน รวมถึงการบริหารจัดการลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก

การบริหารจัดการน้ำ

กลุ่มราชพัฒนา ให้ความสําคัญกับการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมในทุกกระบวนการผลิต ตั้งแต่การนําน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต การรักษาสภาพแวดล้อมภายหลังจากกระบวนการผลิต จึงกําหนดมาตรการในการจัดการน้ำโดยอยู่ภายใต้ ข้อกําหนดทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด และคํานึงถึงผลกระทบต่อปริมาณการใช้น้ำของชุมชนในพื้นที่ ควบคู่ไปกับการตระหนักถึงหน้าที่ในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับการดําเนินงานของโรงไฟฟ้า ในภาวะการขาดแคลนน้ำ

ผลการดําเนินงาน

ปริมาณน้ำที่ลดได้ในกระบวนการผลิต
(ลบ.ม.ต่อปี)
เป้าหมายการลดใช้น้ำดิบในกระบวนการผลิตพลังงาน ประจำปี 2566

การจัดการมลภาวะทางอากาศ

ดําเนินการตามมาตรการจัดการด้านมลภาวะทางอากาศตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ดังนี้

  • ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณปลายปล่องระบายอากาศ (Stack) เพื่อตรวจวัดปริมาณมลสารที่ระบายออกสู่อากาศ ได้แก่ ฝุ่นละอองรวม (TSP) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO) โดยผลการตรวจวัดปริมาณมลสาร ทั้ง 3 ชนิด มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกําหนด
  • ได้ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในพื้นที่ชุมชนรอบโรงงาน โดยติดตามผลและจัดทํารายงานการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงต่อชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุก 6 เดือน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมผลกระทบด้านคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานที่กฏหมายกําาหนดอย่างเข้มงวด
  • การติดตั้งอุปกรณ์ดักจับฝุ่นละอองแบบไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator : ESP) ที่มีประสิทธิภาพในการแยกฝุ่นละออง จากไอเสียมากกว่าร้อยละ 99.5 ที่โรงไฟฟ้าชีวมวลสหโคเจน กรีน และโรงไฟฟ้าชีวมวลสหกรีน ฟอเรสท์ เพื่อป้องกันผลกระทบ ด้านฝุ่นละอองในอากาศที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้า ทําให้อากาศที่ปล่อยออกจากปล่องมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมาย กําหนด ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ผลการดําเนินงาน

ฝุ่นละอองรวม (TSP)
0.4-3.52
เกณฑ์ตามกฏหมาย ≤ 60

การจัดการมลภาวะทางเสียง

  • ออกแบบและติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์ และวางแผนการตรวจสอบบํารุงรักษาอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดเสียงดังอย่างเหมาะสม รวมถึง มีการปลูกต้นไม้ทรงสูง พุ่มหนา เพื่อกรองเสียงและเป็นแนวกันลม ทําให้สามารถควบคุมระดับเสียงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกําหนด
  • กําหนดจุดตรวจวัดระดับเสียงจํานวน 3 จุด ได้แก่ ณ จุดกําเนิดเสียงภายในโรงไฟฟ้า ห้องควบคุมการผลิตในโรงไฟฟ้า และบริเวณแนวรั้ว โรงไฟฟ้า โดยควบคุมระดับเสียง ให้มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกําหนด รวมถึงดําเนินการตรวจวัดความดังของเสียงในพื้นที่ ปฏิบัติงาน เป็นประจําทุก 3 เดือน
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันผลกระทบด้านเสียง หรือ Ear muffs ให้พนักงานสวมใส่เมื่อจําเป็นต้องปฏิบัติงานในบริเวณที่มีเสียงดัง เกิน 80 เดซิเบลเอ หากผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติงานในจุดดังกล่าว จะต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เพื่อลด ความดังของเสียงที่ผู้ปฏิบัติงานจะได้รับ โดยได้มีการติดตั้งป้ายเตือนและกําหนดเป็นข้อบังคับให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ผลการตรวจวัดระดับเสียงโดยทั่วไป (Leq 24 hr)
บริเวณริมรั้วโครงการฝั่งอาคารสํานักงาน
59.8-63.0
เกณฑ์ตามกฏหมาย 70 dBA
บริเวณริมรั้วโครงการ
62.7-64.7
เกณฑ์ตามกฏหมาย 70 dBA

การจัดการกากของเสีย

กลุ่มราชพัฒนา ดําเนินการจัดการกากของเสียตามมาตรฐานที่กฎหมายกําหนด และมาตรการของแต่ละโรงไฟฟ้า โดยแยกกําจัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ของเสียอันตราย และของเสียไม่อันตราย ดําเนินการจัดการ ดังต่อไปนี้

  1. ของเสียอันตราย คือ ขยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น น้ํามันหม้อแปลง น้ํามันเครื่อง ถังสารเคมี ฯลฯ ดําเนินการโดย ควบคุมปริมาณการใช้น้ํามันหม้อแปลงที่ไม่มีสารอันตราย และควบคุมการกําจัดของเสียเหล่านี้ตามที่กฎหมายกําหนดอย่างเคร่งครัด ได้ดําเนินการส่งกําจัดอย่างถูกวิธีโดยหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  2. ของเสียที่ไม่อันตราย คือ ขยะเหมือนกับขยะจากบ้านเรือนทั่วไป เช่น เศษอาหาร ไม้ กระดาษ สายไฟ ถุงพลาสติก วัสดุก่อสร้าง ฯลฯ กําหนดมาตรการในการคัดแยก ก่อนส่งไปฝังกลบตามหลักสุขาภิบาล หรือนํากลับมาใช้ใหม่อย่างเหมาะสม โดยจัดตั้งโครงการธนาคารขยะ เพื่อปลูกจิตสํานึกพร้อมทั้งกระตุ้นให้พนักงานทุกคนคํานึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
เป้าหมายการลดของเสียอันตราย ปี 2566

ผลการดําเนินงานปี 2566

รณรงค์ให้พนักงานคัดแยกขยะทั้งในสํานักงานและโรงงาน รวมถึงเชิญชวนให้พนักงานนําขยะคัดแยกจากครัวเรือนมาร่วมบริจาคหรือแลกเป็นสิ่งของ
จําหน่ายให้กับผู้รับซื้อเพื่อเป็นขยะนํากลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
เชิญชวนให้พนักงานเข้าร่วมโครงการเพื่อช่วยลดปริมาณขยะในสํานักงาน
ใช้หลักการส่งเสริม 5 R
  1. Reduce
  2. Reuse
  3. Recycle
  4. Repair
  5. Reject
ส่งมอบปฏิทินตั้งโต๊ะเก่าเพื่อเป็นสื่อการสอนให้กับผู้พิการทางสายตา
1 โรงเรียน
ชิ้น
ส่งมอบบราเก่า ให้กับ บมจ.ไทยวาโก้เพื่อนําไปกําจัดอย่างถูกวิธีตามโครงการบราเก่าเราขอ
ชิ้น
โครงการบริจาคอลูมิเนียมเพื่อจัดทําขาเทียม
ชิ้น

ผลการดําเนินงานโครงการธนาคารขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม ประจําปี 2566 สรุปปริมาณขยะและปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ลดได้จากการคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล

ประเภทขยะ ปริมาณขยะ (Kg) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้** (kgCO2e)
กระดาษ 1,600 790.40
พลาสติก 341.60 296.85
โลหะ 18,198 20,727.52
แก้ว 233 173.35
อลูมิเนียม 13.10 44.23
รวม 20,386 22,032.35

**โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (http://ghgreduction.tgo.or.th/)

การดําเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทตระหนักและให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงสนับสนุนการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ จึงได้แต่งตั้งคณะทํางานด้านการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกขึ้นเพื่อกํากับดูแลการดําเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายและเจตนารมย์ของบริษัทในการดําเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวด้อมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ตามแนวคิด “สิ่งแวดล้อมดี สังคมได้รับประโยชน์”

  • ราชพัฒนา ประกาศเจตนารมณ์ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050
  • เป้าหมาย การลดก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ปี 2566 >> ปริมาณก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 1 ( Scope 1) และ ตามสัดส่วน ( Carbon intensity) ลดลงอย่างน้อย 5 % เมื่อเทียบกับปีฐาน

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบมจ.สหโคเจน (ชลบุรี) และบริษัทย่อย ปี 2566 (แยกตามบริษัท)

ขอบเขตดำเนินงาน SCG SGN SGF Total
ขอบเขตที่ 1 466,617.62 4,828.07 2,885.38 474,331.07
ขอบเขตที่ 2 7.80 411.32 292.28 511.40
ขอบเขตที่ 3 133,797.99 184.81 74.17 134,056.98
รวม 602,989.42 5,424.20 3,051.83 608,899.45

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบมจ.สหโคเจน (ชลบุรี) และบริษัทย่อย ปี 2566 เทียบกับปีฐาน (ปี 2565)

ขอบเขต การปล่อยก๊าซเรือนกระจก หน่วย
ปีฐาน (2565) ปีปัจจุบัน (2565)
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) 533,254.00 474,332.00 TonCo2e
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 2) 463.00 512.00 TonCo2e
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 3) 140,022.00 134,057.00 TonCo2e
รวม Scope 1 & 2 533,717.00 474,844.00 TonCo2e
รวม Scope 1 & 2 & 3 673,739.00 673,739.00 TonCo2e
ปริมาณการผลิต ไฟฟ้า+ไอน้ำ 1,587,352,114 1,639,337,236 kWh
Carbon intensity (Scope 1+2+3) 0.424 0.371 kgCO2/ kWh
  • 2566 ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมของกลุ่มสหโคเจน โดย Scope 1 และ 2 รวม 474,844.00 TonCO2e และในปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Scope 1 2 และ 3 รวม 608,901.00 Ton CO2e เมื่อเทียบกับปีฐาน ภาพรวมค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มสหโคเจน ลดลงร้อยละ 9.62
  • สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของหน่วยธุรกิจโรงไฟฟ้าของกลุ่มสหโคเจน ในปี 2566 มีค่า Carbon intensity เท่ากับ 0.371 kgCO2/kWh ซึ่งมีค่าต่ำกว่าปีฐาน (ปี 2565) ซึ่งมีค่า Carbon intensity เท่ากับ 0.424 kgCO2/kWh โดยค่าเฉลี่ยของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.5986* kgCO2/kWh
การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการจัดการพลังงานอย่างเหมาะสม
การใช้พลังงานสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
มุ่งเน้นการพัฒนาพลังงานสะอาด โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้ พลังงานหมุนเวียน
กิจกรรมชดเชยคาร์บอน
  • นวัตกรรมด้านพลังงาน จากการเข้าร่วมและดําเนินโครงการด้านพลังงานหมุนเวียนและการลด ก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ I-REC (International Renewable Energy Certificate) กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism) กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)
  • จัดกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน องค์กรให้ความร่วมมือกับชุมชน ภาครัฐ และพันธมิตร ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปลูกต้นไม้ ฟื้นฟู และรักษาป่า เพื่อเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน

International Renewable Energy Certificate (I-REC)

  • บริษัทได้ขึ้นทะเบียน ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน เพื่อส่งมอบสิทธิ I-REC ให้กับองค์กรที่ต้องการแสดงเจตจํานงในการใช้ไฟฟ้า ที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนในกิจกรรมขององค์กร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ในปี 2566 กลุ่มราชพัฒนา ได้ส่งมอบใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นพันธกิจหนึ่งในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านการดําเนินการโครงการดังกล่าวรวม 73,608 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)

ผลการดำเนินงาน

ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก (tonCO2 eq)
tonCO2 eq

โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด โดย โรงไฟฟ้าชีวมวล สหกรีน ฟอเรสท์ ขนาด 7.5 MW

  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 27,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี (tCO2e/yr)
  • ปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสม ตั้งแต่ปี 2557-2566

ผลการดำเนินงาน

รวมตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
(tCO2e)

ธนาคารขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมประจําปี 2566

ผลการดำเนินงาน

การคัดแยกขยะจากโครงการ สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

การอนุรักษ์พลังงาน

กลุ่มราชพัฒนา ให้ความสําคัญในความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านการอนุรักษ์พลังงาน โดยกําหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงานขึ้นเพื่อสร้างความ ตระหนักให้กับผู้บริหารและพนักงานประกอบด้วย การจัดตั้งคณะกรรมการการจัดการด้านพลังงาน การจัดทํารายงานการอนุรักษ์พลังงาน การศึกษา ดูงาน กิจกรรมส่งเสริมและเผยแพร่ข้อมูลด้านการอนุรักษ์พลังงาน เช่น โครงการอนุรักษ์พลังงาน Energy Day กิจกรรมรณรงค์ลดใช้พลังงานใน สํานักงาน เป็นต้น

การปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ประจำปี 2566